เทคโนโลยีทางการศึกษา

เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา


ความเจริญในด้านต่างๆ เป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ

โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประยุกต์มาใช้ในการพัฒนางานทางด้านต่างๆ ที่เรียกว่า “เทคโนโลยี”

(Technology)


ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา


เทคโนโลยี (Technology) มาจากภาษาลาตินว่า Texere แปลว่า การสาน (To weave) หรือ

อีกนัยหนึ่งมาจากคำว่า “Technologia” ซึ่งมาจากภาษากรีก หมายถึง การทำอย่างมีระบบ ซึ่งได้มีผู้ให้

นิยามต่างๆ ไว้ดังนี้


คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำ

วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบนั้นๆ


เจมส์ ดี ฟินส์ (Jemes D.Finn, 1972) กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความหมายลึกซึ้ง ไปกว่าประดิษฐ์

กรรม เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่หมายถึง กระบวนการ แนวความคิด แนวทาง หรือวิธีการในการคิด

ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง



เอดการ์ เดล (Edgar Dale, 1969) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี มิใช่เครื่องมือ เครื่องยนต์

กลไกต่างๆแต่เป็นแผนงาน วิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ทำให้งานนั้นบรรลุตามแผนงานที่วางไว้



พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย “เทคโนโลยี” ไว้ว่าเป็นวิทยาการ

ที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม



จากแนวคิดต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ

กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ

ให้ดีขึ้นและ

มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่น เกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำ

เทคโนโลยีมาใช้

เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่างเต็มที่ อันจะเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นสามารถบรรลุผลตามเป้า

หมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วยให้การงานนั้นได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่

3. ประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะเป็นผล

ทำให้ราคาของผลิตนั้นราคาถูกลง

4. ปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่อำนวยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในหลายวงการ จากประโยชน์

นานัปการที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการศึกษา ได้ตระหนักถึงความ

สำคัญและความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดการศึกษา

ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยาม

ไว้ว่า “เทคโนโลยีการศึกษา”เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

วัสดุและผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่

วิธีการ มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหาร หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษา

เป็นระบบ

การนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น

สันทัด และ พิมพ์ใจ (2525) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้

แนวความคิด กระบวนการ ตลอดจนวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษา

ให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ได้กล่าวว่า “เทคโนโลยีการศึกษา”หมายถึง การนำหลักการ

ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทาง

การศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา

มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอน

โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง

กิดานันท์ มลิทอง (2543) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ

แนวความคิด วัสดุอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา

คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา

(AECT, 1979)อธิบายว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” (Educational Technology) เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการ

อย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคลกรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือและองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา การสร้าง

การประยุกต์ใช้ การประเมินผลและจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ

หรืออาจได้ว่า “เทคโนโลยีการศึกษา”และขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ

เลือกและนำมาใช้เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมายคือ การเรียนรู้ นั่นเองจากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ของสหรัฐอเมริกา ข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการ

เปลี่ยนกระบวนทัศน์ จากพื้นฐานทางทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มาสู่พุทธิปัญญานิยม (Cognitivism)

และรังสรรคนิยม (Constructivism) ประกอบทั้งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

คอมพิวเตอร์ ได้มีการปรับเปลี่ยนความหมายให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ดังนี้

เทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับ

การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมินผลของกระบวนการและแหล่งการเรียนสำหรับการเรียนรู้ (Seels,1994)


จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แหล่งการเรียนอาจจำแนกได้เป็นสาร (Message) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ

(Devices) เทคนิควิธีการ (Techniques and Setting) กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา การสร้างหรือการผลิต การนำไปใช้

(Implementing) ตลอดจนการประเมินการแก้ปัญหานั้น จะกล่าวไว้ในส่วนของการพัฒนาการวิจัยเชิงทฤษฎีการออกแบบ การผลิต

การประเมินผล การเลือก (Evaluation Section) ตรรกศาสตร์(Logistics) การใช้และการเผยแพร่ ส่วนในเรื่องของกระบวนการของการ

อำนวยการหรือการจัดการ ส่วนหนึ่งจะกล่าวไว้ในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร บุคคล ซึ่งความสัมพันธ์ของส่วนประกอบดังกล่าว

แสดงไว้ในโมเดลขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาที่จะกล่าวต่อไป

จากแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการศึกษา” อาจสรุปได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับกระบวน

การที่มีการบูรณาการเกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ อุปกรณ์และองค์กรอย่างซับซ้อน โดยการวิเคราะห์ปัญหา การผลิต

การนำไปใช้และประเมินผลเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์


นวัตกรรมทางการศึกษา



นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือการทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Innovate และมาจาก

คำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ เข้ามา

นอกจากนี้ ยังมีนักการศึกษาให้คำนิยามต่างๆ ไว้ดังนี้

Thomas Hughes ได้ให้ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือ

ได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) อาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน

(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973) กล่าวว่า “นวัตกรรม” หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้นและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่


บุญเกื้อ ควรหาเวช, นวัตกรรมการศึกษา, (พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545). 8.



ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา



รากฐานของเทคโนโลยีการศึกษามีประวัติมายาวนาน โดยเริ่มจากสมัยกรีก คำว่า Technologia หมายถึง การกระทำอย่าง

เป็นระบบ หรืองานฝีมือ (Craft) ชาวกรีก ได้เป็นผู้ที่เริ่มใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง โดยการแสดงละคร

ใช้ดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีกและโรมันโบราณ ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษานอกสถานที่ ส่วนการสอนศิลปะ

ได้มีการนำรูปปั้น รวมทั้งการแกะสลักเข้ามาช่วยในการสอน ดังนั้น ในสมัยนั้นเห็นถึงความสำคัญของทัศนวัสดุที่ช่วยในการเรียนการสอน



พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา


กลุ่มที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งได้แก่ กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) เป็นกลุ่มครูผู้สอน ชาวกรีก ได้ออกทำการสอนความรู้ต่างๆ

ให้กับชน รุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มี ความฉลาดปราดเปรื่องในการอภิปรายโต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า

เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรก และกลุ่มโซฟิสต์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ได้แก่ โสเครติส (Socretes) พลาโต (Plato)

อริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวาง รากฐานของปรัชญาตะวันตก
บุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่ง คือ โจฮัน อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius คศ. 1592-1670) เป็นผู้ที่ใช้วัสดุสิ่งของ

ที่เป็นของจริงและรูปภาพ เข้ามาช่วยในการสอนอย่างจริงจัง รวมทั้งแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้วัสดุ

ของจริงมาใช้ในการสอน ตลอดจนการรวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอน มา 40 ปี นอกจากนี้ ได้แต่งหนังสือที่สำคัญ

อีกมากมายและที่สำคัญคือ Obis Sensualium Pictus หรือที่เรียกว่า “โลกในรูปภาพ” ซึ่งเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบบทเรียนต่างๆ

ผลงานของ คอมินิอุส ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาตลอดมา จนได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา
ต่อมา ได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นด้านต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงพัฒนาการของ

เทคโนโลยีการศึกษาในส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการออกแบบการสอน ด้านสื่อการสอนและด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้


ความเป็นมาและพัฒนาการของการออกแบบการสอน


ยุคประวัติศาสตร์ ช่วงต้นของการออกแบบการสอน (Instructional Design) คือ ธอร์นไดค์ (Edward L.Thornlike)

ในปี 1898 ได้ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ โดยเริ่มแรกนั้น ทำการทดลองกับสัตว์ ต่อมาทดลองกับมนุษย์ จากผลการ

ทดลองนั้น เขาได้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สร้างความรู้ขั้นพื้นฐานที่ว่า อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง

ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) การกระทำต่างๆ จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะมีอิทธิพลต่อการแสดง

พฤติกรรมนั้นซ้ำๆ กัน ในทางตรงกันข้าม การกระทำนั้นเป็นผลที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ การกระทำซ้ำก็มีความถี่น้อยลง ผู้สอน

ต้องสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมอย่างชัดเจน โดยให้รางวัลสำหรับผู้เรียน ธอร์นไดค์ได้สร้างผลงานเกี่ยวกับการประเมินผล

เช่นเดียวกัน จนได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสาขาการออกแบบการสอน ที่สามารถตอบสนองความ

แตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม


กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการพัฒนา



ในปี 1920-1930 Franklin Bobbilt ได้นำแนวคิดของธอร์นไดท์ ไปประยุกต์ ใช้กับปัญหาทางด้านการศึกษา

โดยการสนับสนุนเป้าหมายเชิงปฏิบัติ และได้แนะนำว่า เป้าหมายของโรงเรียน ควรมาจากพื้นฐานการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็น

สำหรับการมีชีวิต ที่ประสบความสำเร็จ ส่วนนี้เป็นหลักพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ ภารกิจการเรียนใน การออกแบบ

การสอน และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผลการสอนกับการปฏิบัติการสอน (Instructional Practices) ในช่วงต้นๆ ศตวรรษที่ 19

ได้ปรากฏผลงานเกี่ยวกับการสอนรายบุคคล (Individualize Instruction) ซึ่ง Frederic Burk และผู้ร่วมงานได้พัฒนาการสอน

รายบุคคลให้เป็นพื้นฐานของงานด้านนี้ ในระยะต่อมา

ในปี 1930 Ralph W. Tyler แห่งมหาวิทยาลัย โอไฮโอ ได้เน้นศึกษาการใช้วัตถุประสงค์ในการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียน

คาดหวังเกี่ยวกับการเรียน Tyler ได้ปรับปรุงกระบวนการในการเขียนจุดประสงค์การสอน ในที่สุดเขาสามารถที่จะกำหนดวัตถุประสงค์

การสอนได้อย่างชัดเจน ในรูปของพฤติกรรมของผู้เรียน (Student Behaviors) และการใช้วัตถุประสงค์เฉพาะนี้เป็นผลที่ทำให้สามารถ

ทำการประเมินเพื่อปรับปรุงได้

ในช่วงต่อมาคือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการวิจัยด้านการศึกษาอย่างมาก อันเนื่องมาจากสาเหตุของความจำเป็นใน

การฝึกอบรมบุคลากรในกองทัพ ทำให้สามารถประยุกต์การวิจัยทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลของ

ความพยายามนี้ จะปรากฏออกมาในรูปของการใช้สื่อการศึกษา ในการฝึกอบรมต่างๆ ของกองทัพ ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2

การออกแบบการสอนได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในช่วง ปี 1950 - 1960 เป็นช่วงที่สำคัญของสาขาวิชาการออกแบบการสอน (Instructional design) ในปี 1956 เบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom) และเพื่อนร่วมงานได้ตีพิมพ์ผลงานการจำแนกจุดประสงค์

การศึกษา (Taxonomy of Educational Objectives ) เป็นลำดับขั้น ที่ชัดเจน และเริ่มใช้อย่างแพร่หลายโดยทั่วไปใน

กลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

ในขณะเดียวกัน บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้เสนอแนวทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Operant conditioning) ซึ่งมีรากฐาน

มาจากทฤษฎีพฤติกรรรมนิยม (Behaviorism) ที่เป็นแนวคิดสำคัญในการออกแบบการสอน สกินเนอร์ได้นำแนวคิดของธอร์นไดค์

มาขยายเพิ่มเติมและเน้นบทบาทของการเสริมแรง (Reinforcement) ในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง

(Response) กล่าวได้ว่า มีการรักษาสภาพการเรียนรู้ได้โดย การควบคุมการให้แรงเสริม แนวคิดเหล่านี้เป็นที่มาของวิธีระบบ (Systematic approach) การออกแบบ การพัฒนา การประเมินและการปรับปรุงแก้ไข

ในปี 1960 สาขาวิชานี้ได้ก้าวหน้าไปในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange) และกลุ่มทางพุทธิปัญญา

ซึ่งช่วยให้การนำแนวคิดทางพุทธิปัญญา (Cognitive Theories) มาใช้ในการออกแบบการสอน และให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเข้าใจ (Understanding) ที่เกิดขึ้นในจิตใจ (Mind) หรือในสมองของผู้เรียน นอกจากนี้ คำว่า Instructional System เริ่มถูกนำมาใช้ในการ

อธิบายการออกแบบการสอนอย่างเป็นระบบ เพราะว่ารัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาสาขาวิชานี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งทำให้การออกแบบการสอนได้มีการนำมาใช้และทำการศึกษากันอย่างกว้างขวาง

ในช่วงปลายปี 1960 การออกแบบการสอนได้มีการยอมรับว่าเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดยตัวเอง และหลังจากทศวรรษ 1960 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและขยายขอบเขตสาขาวิชาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยการนำทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Cognitive Theories) ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น สาขาวิชาการออกแบบการสอนได้เปิดทำการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รูปแบบของการออกแบบการสอนได้ถูกพัฒนาขึ้นและมีการทดสอบโดยใช้ทฤษฎีต่างๆ การออกแบบการสอนได้แพร่หลายในกองทัพ ในการฝึกอบรมด้านธุรกิจและเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่การสอนในโครงการ K12

ในช่วงปี 1970 เป็นต้นมา ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม โดยเฉพาะทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information Processing) ได้เข้ามามีบทบาท และในปัจจุบันทฤษฎีรังสรรคนิยม (Constructivism) ได้มีผู้ศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง แนวคิดพื้นฐาน

ของทฤษฎีนี้คือ ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเองในบริบทของสังคม อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า ผลงานส่วนใหญ่ของ

นักเทคโนโลยีการศึกษา (Instructional Technologists) ในปัจจุบันมีการยอมรับแนวคิดของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม (Cognitivism)

และรังสรรคนิยม (Constructivism) ซึ่งปรากฏผลงานวิจัยโดยส่วนมาก และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนา ของสาขาวิชา

(Newby, Stepich, Lehman and Russell,2000)


สื่อการเรียนการสอน



สื่อการสอน (Instructional media) และการออกแบบการสอน (Instructional design) ได้มีการพัฒนามาด้วยกัน มีการแยกตัว

เป็นอิสระแต่มีส่วนมาบรรจบกัน แม้ว่าการใช้ของจริง (Real object) ภาพวาด (Drawing) และสื่ออื่นๆ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสอน

อย่างน้อยที่สุด เป็นการนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางด้านประวัติศาสตร์ของการใช้สื่อการสอน เช่นเดียวกับการออกแบบการสอน

เป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนในศตวรรษที่ 20

ในอเมริกาเหนือพบว่า พิพิธภัณฑ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อสื่อ การสอน มีประวัติศาสตร์ของความร่วมมือกับ

โรงเรียนและมีบทบาทในชุมชน ในปี1905 พิพิธภัณฑ์ทางการศึกษา St. Louis กลายเป็นพิพิธภัณฑ์แบบเปิดของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์สื่อการศึกษา” (Media Center) ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรวบรวมงานศิลปะ หุ่นจำลอง แผนภูมิ ของจริงและสื่อวัสดุอื่นๆ

จากทั่วโลก วัสดุเหล่านี้ถูกนำมาไว้ในโรงเรียน St. Louis ด้วยความคิดพื้นฐานที่ว่า เป็นการนำโลกมาสู่เด็ก มีการขนส่งสื่อการสอนมาให้

โรงเรียน โดยรถม้า ต่อมาโดยรถบรรทุก แคตตาลอกของสื่อการสอนได้รับการจัดไว้ในโปรแกรมการเรียนการสอนและจัดหาให้ครูผู้สอน

สามารถสั่งจองได้ ในปีค.ศ. 1943 พิพิธภัณฑ์ St. Louis ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ฝ่ายโสตทัศนศึกษา (Division of Audio-Visual Education)

แม้ว่าก่อนที่จะเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีความสนใจอย่างกว้างขวางในสิ่งที่เรียกว่า การสอนโดยการใช้ภาพ (Visual instruction)

หรือจักษุศึกษา (Visual education) หลักการสำคัญที่ซ่อนอยู่ข้างใต้ความเคลื่อนไหวนี้คือ รูปภาพ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับของจริงมากกว่า

คำพูด ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เน้นการให้ข้อมูลทางภาษา คำพูดและรูปภาพ อาจทำให้การเรียนการสอนเรื่องราวต่างๆ

ที่ถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ได้ง่ายขึ้น โดยมีเครื่องฉายสไลด์ สเตอริโอ การฉายสไลด์แบบ “Magic lantern" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงภาพ

และได้รับความนิยมนำมาใช้ประกอบการบรรยายและสามารถพบเห็นในโรงเรียนทั่วไป ก่อนเริ่มศตวรรษที่ 20 ในปี 1904 รัฐนิวยอร์ค

ได้จัดองค์กรที่เรียกว่า Visual Instruction Department ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและแจกจ่ายสไลด์ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในปี 1920 หน่วยงาน

ในลักษณะดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก และเป็นที่มาของยุคเริ่มต้นที่ต่อมากลายเป็น

"Audiovisual and Media Science Department "

ฟิล์ม (Film) ได้เข้ามาสู่ชั้นเรียนในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 โดย โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ที่ได้พัฒนาชุดฟิล์มทาง

วิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ สำหรับโรงเรียน ได้นำฟิล์มมาใช้เพื่อการแสดงผลงานการสร้างละครและแคตตาลอกของฟิล์มภาพยนตร์

ทางการศึกษา มีการตีพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกาในปี 1910 จากนั้น นำไปใช้ในโรงเรียนของรัฐบาล (Rochester, New York) และพัฒนาอย่าง

ต่อเนื่องในฐานะสื่อการศึกษามาตลอดศตวรรษ

เช่นเดียวกันได้มีความพยายามในการนำสื่อทางด้าน เสียง (Audio) เข้ามาเป็นสื่อ การเรียนการสอน (Instruction media)

ช่วงระหว่างปี 1920-1930 ได้มีการนำวิทยุเข้ามาทดลองใช้ และในปี 1929 โรงเรียนทางอากาศโอไฮโอ โดยความร่วมมือกับมลรัฐ

มหาวิทยาลัยโอไฮโอกับสถานีวิทยุ Cincinnati จนได้มีการจัดตั้งโมเดลที่คล้ายคลึงกับความร่วมมือดังกล่าวในสถานที่อื่นๆ เพื่อสาธิต

การใช้วิทยุในฐานะที่เป็นสื่อทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิล์มภาพยนตร์ทางการศึกษา และสื่ออื่นๆกลายเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมที่ใช้ในสงคราม

ในช่วงระหว่างสงคราม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ผลิตฟิล์มสำหรับการฝึกอบรมมากกว่า 800 เรื่อง มีการจัดซื้อเครื่องฉายฟิล์มสตริป จำนวน

10,000 เครื่อง และจ่ายเงินไป 100 ล้านดอลล่าร์ สำหรับฟิล์มที่ใช้ในการฝึกอบรม การใช้สื่อจำนวนมากเหล่านี้ ส่งผลต่อสาขาวิชา

และเป็นการสนับสนุนให้เกิดแนวคิดที่ว่า สื่อเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการศึกษาและการฝึกอบรม

ในปี 1950 เป็นช่วงยุคการใช้โทรทัศน์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อใหม่ของการศึกษา ได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ที่มหาวิทยาลัย

รัฐไอโอวา (Iowa) ในปี 1950 และได้มี การจัดตั้งในที่อื่นๆ ในช่วงปี 1952 Federal Communications Commission ได้จัดตั้ง

สถานีโทรทัศน์ จำนวน 242 ช่อง และเรียกว่า สถานีโทรทัศน์ทางการศึกษา (Educational Television Station) เป็นผลที่ช่วยทำให้

การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาขยายตัวและแพร่หลาย ในปัจจุบัน โทรทัศน์ทางการศึกษาจะอยู่ในรูปของ National Geographic Special

Public Broadcasting System's (PBS) Program Newsmagazines และ Discovery Channel และอื่นๆ ลักษณะที่พบในโรงเรียน ได้แก่ Channel One ซึ่งจะเสนอข่าวต่างๆ แม้ว่าโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนจะไม่ได้บรรลุตามเป้าหมายในห้องเรียน แต่ก็ยังใช้กันอยู่ใน

การเรียนการสอน วีดีทัศน์ได้มีการพัฒนาและมีอิทธิพลต่อการเรียนในโรงเรียน อย่างไรก็ตามวีดีทัศน์ในโรงเรียนปัจจุบันอาจรวมถึง

VCR หรือการศึกษาทางไกล

ในช่วงระหว่างปี 1950 และ 1960 สาขาวิชาที่เกี่ยวกับสื่อการศึกษา ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการเน้นสื่อทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ (Hardware) มาสู่บทบาทของสื่อใน การเรียนรู้ การศึกษาอย่างเป็นระบบถูกนำมาใช้ในการสร้างวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คุณลักษณะ

(Attribute) หรือลักษณะ (Features) ของสื่อต่างๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ (Learning) ทฤษฎีต่างๆ หรือโมเดลการสื่อสาร

(Model of communication) ได้มีการพัฒนาควบคู่ไปกับบทบาทของสื่อ โมเดลเหล่านี้ช่วยทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตทัศนศึกษา

(Audio visual specialists) ได้พิจารณาทุกๆ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษาทางด้านโสตทัศนศึกษา (Audiovisual Education) จึงขยายแนวความคิด (Concept) ที่กว้างขวาง

เพิ่มขึ้นกว่าเดิม มีความมุ่งเน้นเฉพาะด้านสื่อ (Media) เท่านั้น ประกอบกับการมาประสานร่วมกันกับศาสตร์ทางโสตทัศนศึกษา (Audiovisual Science) ทฤษฎีการสื่อสาร (Communication Theories) ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) และการออกแบบการสอน

(Instructional Design) ได้เริ่มขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของเทคโนโลยีทางการสอน (Instructional Technology)

จากผลของการใช้สื่อต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 สาขาวิชานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโต

มากขึ้น ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อกลายเป็นผู้ที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในชุมชนโรงเรียน สื่อที่มีรูปแบบใหม่ๆ ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น

และความเคลื่อนไหวต่างๆ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงศาสตร์ทางด้านโสตทัศนศึกษา การศึกษาทางด้านสื่อ ซึ่งเริ่มประมาณปลาย

สงครามโลกครั้งที่ 2 สื่อกลายเป็นสิ่งที่ถูกมองว่าไม่สามารถเป็นส่วนที่แยกตัวออกมาอย่างโดดเดี่ยวได้ แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ

ทางเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งกว้างขวางกว่าแนวคิดเดิม เช่นเดียวกับการออกแบบการสอนที่พัฒนาไปเป็น ส่วนหนึ่งของการศึกษา

ในสาขาวิชา และศาสตร์ทางด้านสื่อได้เติบโตพร้อมทั้งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการออกแบบการสอน (Instructional design)

และการสื่อสาร (Communication)



พัฒนาการของคอมพิวเตอร์เพื่อการสอน (Instructional Computer Roots)



คอมพิวเตอร์มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับนวัตกรรมการศึกษา (Innovations) ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ยุคแรกจะนำอิเลคทรอนิกส์

ดิจิตอลมาใช้ในการสร้างประวัติศาสตร์ของการพัฒนาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
ในยุคแรกของคอมพิวเตอร์จะใช้เทคโนโลยีหลอดสูญญากาศ
ในยุคต่อมาหลังจากทศวรรษ 1950 และในช่วงเริ่มต้นของ 1960 ในยุคนี้จะใช้ เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ (Transistor) พบว่า
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมีขนาดเล็กลงและความเร็วเพิ่มขึ้นและราคาลดลงและมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น
ในยุคที่ 3 จะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเพราะนำเทคโนโลยี Solid State มาบูรณาการกับ Circuit เรียกว่า Integrated - Circuit (ICs)
และ Ics ซึ่งการบูรณาการเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าด้วยกัน เรียกว่า ชิฟ (Chip)
ในยุคที่ 4 เริ่มเข้ามาในทศวรรษ 1970 และใช้ Very Large-scale integration (VLSI) สิ่งที่มีการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในยุคนี้คือ
ไมโครโปรเซสเตอร์ เป็นชิฟเดี่ยวที่ทำจากซิลิคอน ซึ่งพัฒนาโดยวิศวกรของบริษัท Intel Corporation ซึ่งนำไปสู่ Personal
Computer ในปี 1977 ได้มีบริษัทคอมพิวเตอร์ต่างๆที่มีการผลิตได้แก่บริษัท Apple Commodore และ
Tandy/ Radio Shack ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์


จนกระทั่ง 1981 บริษัท IBM ได้เสนอรูปแบบใหม่ของ Personal computer และ ในปี 1984 บริษัท Appleได้ออกแบบ Personal Computer ใหม่ที่เรียกว่า Macintosh ซึ่งมีลักษณะการ Interface ที่ใช้กราฟิกและใช้เมาส์เป็นเครื่องมือชี้ พร้อมด้วย Microsoft windows

วิธีการนี้ช่วยทำให้ Personal Computer ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมี Laser Printer และโมเด็ม (Modem) ตลอดจน

อุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมสมรรถนะ ของ Personal Computer และในปี 1990 อินเตอร์เน็ตได้เข้ามาอย่างเงียบๆ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ

สำหรับนักวิจัยอยู่หลายปี และต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นพร้อมกับการเติบโตของ World Wide Web แต่เดิม Personal Computer

ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นเครื่องที่แยกเป็นเครื่องเดี่ยว (Stand alone) กลายเป็นเครื่องมือที่สามารถเชื่อมโยงติดต่อกับเครื่องอื่นๆ และเครือข่ายของ

Personal Computer ก็ปรากฏในรูปแบบที่โดดเด่นของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ในขณะนั้นเอง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการศึกษายังไม่มากนัก และได้เริ่มมีการนำเข้ามาใช้นับตั้งแต่ช่วงต้นของ1960 ก่อนการมาของ Personal Computer ที่มหาวิทยาลัย Stanford โดย Patrick Suppes และผู้ร่วมงานได้จัดตั้งโครงการคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

(Computer-Assisted Instruction) โดยร่วมมือกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และกับ Stanford พัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แบบฝึกปฏิบัติ (Drill and practice) และแบบการสอน (Tutorial) โดยเริ่มต้นศึกษาในวิชาคณิตศาสตร์และวิชาในหลักสูตร

โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม (Mainframe) ได้ทำการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมอย่างรอบคอบ ซึ่งกลายมาเป็นโมเดลสำหรับการ

พัฒนาซอร์ฟแวร์สำหรับการเรียนการสอนในช่วงต่อมา และในช่วงต้นทศวรรษ 1960 โครงการ PLATO ได้เริ่มขึ้นที่มหาวิทยาลัยอิลินอย

(IIlinois) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในด้านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน PLATO(Programmed Logic for Automatic Teaching Operation)

ซึ่งเป็นผลที่ทำให้เกิดการพัฒนาโปรแกรมซอร์ฟแวร์ที่มีคุณภาพในสาขาวิชาต่างๆ เป็นจำนวนมาก PLATO มีบทบาทในการจัดการเรียน

การสอนในมหาวิทยาลัยอิลินอย และได้มีการนำระบบนี้ไปใช้ที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ บทเรียนที่เป็นต้นแบบในการพัฒนาสามารถปรับมาใช้

กับ Personal Computerได้ และโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียน เรียกว่า TUTOR ซึ่งยังคงมีการใช้สำหรับระบบการฝึกอบรม

ผลกระทบที่เกิดกับโครงการคอมพิวเตอร์ ยังมีข้อจำกัด เพราะการผลิตช่วงเริ่มแรกยังคงต้องอาศัยคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมหรือ

มินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังไม่สามารถที่จะใช้กันได้อย่างกว้างขวาง การปรากฏตัวของ Personal Computer ในปี 1970 เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความ

เปลี่ยนแปลง โดยแท้จริงแล้วการพัฒนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อการสอนไม่ได้เป็นผลที่พัฒนามาจากการใช้ที่เปลี่ยนจากคอมพิวเตอร์

ที่ใช้ระบบใหญ่ เช่น Main frame มาสู่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น Seymour Papers และผู้ร่วมงานที่ MIT เริ่มต้นงานโดยใช้

ภาษาโลโก้ ในทศวรรษ 1970 ก็ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และภาษาโลโก้ก็สามารถปรับมาใช้กับ Personal Computer ได้ และเป็น

ส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จของการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน การสอน จากนั้น Minnesota Educational Computing Consortium

(MECC) หนึ่งในจำนวนมลรัฐใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาได้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และปรับเปลี่ยนมาใช้กับ Personal Computer จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการใช้คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้มีการใช้ Personal Computer ในโรงเรียนและได้ขยายตัวในด้านการใช้อย่างมาก จากข้อมูล

ของ Office of Technology Assessment พบว่า มีการขยายตัวจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 95 ในระยะเริ่มแรกที่คอมพิวเตอร์ส่วน

บุคคลถูกนำเข้ามาสู่โรงเรียน ขณะนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตและซอร์ฟแวร์ยังมีจำกัด จึงเป็นผลให้การใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงนี้จะเน้น

เกี่ยวกับโปรแกรมและการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)

ได้ถูกผลักดันเข้ามา และโปรแกรมการเรียนคอมพิวเตอร์ถูกบูรณาการเข้าไปในหลักสูตรมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์

ทักษะการเขียนโปรแกรม และได้มีการทำนายจากนักการศึกษาว่า สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมจะได้รับการจัดให้เรียนควบคู่

ไป เช่นเดียวกับ ด้านการอ่าน การเขียนหรือการเรียนเลขคณิตในโรงเรียน


คอมพิวเตอร์เพื่อการสอน



จากการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกันอย่างกว้างขวาง และสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น การเพิ่มปริมาณของ

ซอร์ฟแวร์และการจัดหาได้ง่ายนั้น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรายวิชาต่างๆ มีมากมาย ซอร์ฟแวร์ที่มีคุณภาพเป็นประเด็นที่มีความ

สำคัญเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น เวิร์ดโปรเซสเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์ สเปรตชีท และการจัดการฐานข้อมูลที่ได้รับการพัฒนา

สามารถนำมาใช้และได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ในการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน

คอมพิวเตอร์การเรียนการสอนได้ล้มเลิกแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์และแยกมาจัดตั้งเป็นสาขาทางการศึกษาใหม่

โดยนำแนวคิดการบูรณาการลงในหลักสูตร รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบริบทของเนื้อหาวิชา

ดังนั้นความสนใจจึงมุ่งไปที่การใช้คอมพิวเตอร์ที่มีการบูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์เข้าไปสู่เนื้อหาในสาขาวิชาเฉพาะ ดังนั้นการ

ใช้ Word Processing ในการสอนการเขียน หรือการใช้ภาษาโลโก้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา เป็นต้น

จากเทคนิคดังกล่าวช่วงหลังของทศวรรษที่1970-1990 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้เปลี่ยนแปลงจากความแปลกใหม่ที่สามารถใช้กับ

โปรแกรมง่ายๆ มาสู่ความสามารถที่ใช้ได้อย่างอเนกประสงค์ มีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือทางการศึกษา คอมพิวเตอร์เพื่อการสอนเป็น

สาขาวิชาที่เปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีการเปลี่ยนแปลงจากการเน้น การใช้คอมพิวเตอร์ในแนวที่ยังแคบ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และโปรแกรมมาสู่แนวคิดที่กว้างขวาง คือ เป็นเครื่องมือที่บูรณาการเข้าไปกับกระบวนการสอน เช่นเดียวกับการออกแบบการสอน

(Instructional Design) ศาสตร์ทางด้านสื่อ (Media Science) และคอมพิวเตอร์การเรียนการสอน (Instructional Computing) ก็ได้

รับการยอมรับในฐานะที่เป็นสาขาวิชาของตนเอง



ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน



Educational Technology และ Instructional Technology ในวงการสาขาวิชานี้ ได้เรียกทั้ง Educational Technology และ Instructional Technology ซึ่ง Barbara และ Rita (1994) ได้กล่าวไว้ 2 ประการ คือ

(1) คำว่า Instructional Technology เป็นคำที่มีความเหมาะสมกับ Technology ในการอธิบายส่วนประกอบของเทคโนโลยีได้

ครอบคลุมชัดเจนมากว่า

(2) คำว่า Educational Technology มีความหมายโดยทั่วไปที่ใช้กับโรงเรียน หรือระบบการศึกษา แต่คำว่า Instructional นั้น

ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับระบบการศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสถานการณ์การฝึกอบรมได้เช่นกัน

นอกจากนี้ Knirk และ Gustafson (1986) ได้กล่าวว่า "Instructional" เกี่ยวข้อง กับปัญหาด้านการเรียนการสอน ในขณะที่ “Educational” เป็นคำที่มีความหมายกว้างๆ รวมลักษณะต่างๆ ไว้ด้วยกัน เหตุผลของการใช้คำ Educational Technology เพราะว่า Instruction หรือการเรียนการสอน เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ Educational Technology ดังนั้น คำนี้จึงช่วยขยายขอบเขตของสาขาวิชา

เทคโนโลยีการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และ "Educational" มีความหมายครอบคลุมไปถึงการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้ง

บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน แต่ Instructional มุ่งเน้นแต่เพียงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเท่านั้น มีข้อสังเกตคือ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

Educational Technology เป็นคำที่นิยมแพร่หลาย ในอังกฤษและแคนาดา แต่ประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้คำว่า “Instructional

Technology”

ในปี 1977 Association for Educational Communications and Technology (AECT) ได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันระหว่าง

Educational และ Instructional Technology ไว้ดังนี้ เทคโนโลยีการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกี่ยว

กับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ โดยผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน หรือที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คำนิยมดังกล่าว เทคโนโลยีการ

ศึกษามีความหมายรวมถึงการเรียนรู้ผ่านสื่อสารมวลชน สนับสนุนแบบการสอนและระบบการจัดการ ส่วน Technology in Educational

หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนระบบการศึกษา เช่น การรายงานผลการเรียน และตารางเรียน

จากแนวคิดที่ว่า Instructional Technology เป็นส่วนหนึ่ง ของ Educational Technology มาจากหลักเหตุผลที่ว่า การสอน

(Instruction) เป็นส่วนหนึ่ง (subset) ของการศึกษา (Education) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการศึกษานั่นเอง

(AECT, 1977)

ตั้งแต่ปี 1977 เป็นต้นมา ไม่ปรากฏความแตกต่างระหว่างความหมายของคำต่างๆ เหล่านี้ ทั้ง 3 คำนี้ ได้ถูกนำมาอธิบายการประยุกต์

ใช้เครื่องมือและกระบวนการทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาการสอนและการเรียนรู้ได้ ในปัจจุบัน วิชาชีพได้ให้ความสนใจกับ

กิจกรรม ความคิดรวบยอดและสถานการณ์การสอนมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่การสอนที่เป็นไปโดยทางอ้อม หรือเกิดจากความจงใจหรือโดยตรง

แต่มุ่งเน้นเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลของ การสอนที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมที่มีต่อการเรียนรู้มากของผู้เรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น

ในปัจจุบันเป็นการยากที่จะยืนยันในความหมายของ “Instructional Technology” และ “Technology in Education” ว่าเป็นส่วนหนึ่ง (subset) ของ “Educational Technology”

ในปัจจุบัน คำว่า “Educational Technology” และ “Instructional Technology” อาจมีการใช้สลับกันหรือแทนกันโดยนักเทคโนโลยีการ

ศึกษา เพราะคำว่า “Instruction Technology” เป็นคำที่มีความสอดคล้องกับข้อความต่อไปนี้
เป็นคำที่ใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา
ครอบคลุมถึงการปฏิบัติ
อธิบายองค์ประกอบของเทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างชัดเจน
เป็นทั้งการสอนและการเรียนรู้ในคำนิยามเดียวกัน


คำว่า “Instructional Technology” ถูกใช้นิยามตั้งแต่ปี 1944 เป็นต้นมา แต่คำว่า “Educational Technology” และ “Technology in

Education” เป็นคำที่ใช้ได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น Barbara และ Rita (1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยีการสอน” (Instructional Technology) หมายถึงทฤษฎี

และการปฏิบัติในขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและประเมินผลของกระบวนการและแหล่งการเรียน

สำหรับการเรียนรู้ ดังจะเห็นความสัมพันธ์ของขอบข่ายทั้ง 5 ได้แก่การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การใช้ (Utilization)

การจัดการ (Management) และการประเมิน (Evaluation) ดังรูปที่ 1






ในสาขาวิชาชีพจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในแต่ละขอบข่ายของเทคโนโลยีการสอน ประกอบ

ด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิจัยและประสบการณ์ ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพ

ในสาขาต่างๆ ทฤษฎี ประกอบด้วยความคิดรวบยอด ที่สร้างขึ้นจากผลการวิจัย หลักการและนิยาม ที่นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ส่วนการ

ปฏิบัติเป็นการประยุกต์องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหา นอกจาก นั้นการปฏิบัติสามารถที่จะไปสร้างพื้นฐานความรู้ โดยอาศัยข้อมูล

ที่ได้รับจากประสบการณ์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการของเทคโนโลยีการสอน ทำให้การใช้โมเดลได้กว้างขวางขึ้น โมเดลของกระบวนการที่

อธิบายวิธีการดำเนินงาน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน ทฤษฎีก็สามารถก่อให้เกิดโมเดลที่สามารถแสดงให้เห็น

ความสัมพันธ์ได้เช่นกัน โมเดลเหล่านี้ เรียกว่า Conceptual Models (Richey, 1986)



ขอบข่ายพื้นฐานของสาขาวิชาเทคโนโลยีการสอน



การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมิน ส่วนประกอบทั้ง 5 นี้ เป็นขอบข่ายของพื้นฐานความรู้และองค์ประกอบ

ที่สำคัญในสาขาวิชานี้ อาจเรียกได้ว่า 5 ขอบข่ายพื้นฐานของสาขาวิชาเทคโนโลยีการสอน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดคือ
การออกแบบ (Design) แสดงให้เห็นถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดทฤษฏีที่กว้างขวางที่สุดของเทคโนโลยีการสอน ในศาสตร์ทางการ
ศึกษา
การพัฒนา (Development) ได้มีการเจริญก้าวหน้า และแสดงให้เห็นแนวทาง ในการปฏิบัติ
การใช้ (Utilization) ทางด้านนี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ดังเช่น ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มี
การดำเนินการกันมากเกี่ยวกับการใช้ สื่อการสอนกันมากมาย แต่ยังมีด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สื่อการสอนที่มิได้รับการใส่ใจ
การจัดการ (Management) เป็นด้านที่เป็นหลักสำคัญของสาขานี้ เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับแหล่งการเรียนรู้ ที่จะต้องสนับสนุนในทุกๆ
องค์ประกอบ ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบและแนะนำ หรือการจัดการ
การประเมิน (Evaluation) ด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อปรับปรุง (Formative Evaluation)



ขอบข่ายของกระบวนการและแหล่งการเรียนรู้



1. กระบวนการ ในที่นี้ หมายถึงลำดับของการปฏิบัติการหรือกิจกรรมที่มีผลโดยตรงต่อเทคโนโลยีการสอน ประกอบด้วย

การออกแบบและกระบวนการส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ กระบวนการ หมายถึง ลำดับที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลป้อนเข้า การกระทำและผลลัพธ์

ซึ่งการวิจัย ในปัจจุบัน จะมุ่งเน้นยุทธวิธีการสอนและความสัมพันธ์ของรูปแบบการเรียนรู้และสื่อ ยุทธวิธีการสอน (Instruction strategies)

เป็นวิธีการสำหรับการเลือกและจัดลำดับกิจกรรม ตัวอย่างของกระบวนการเป็นระบบการส่ง เช่น การประชุมทางไกล (Teleconferencing)

รูปแบบการสอน เช่น การศึกษาอิสระ รูปแบบการสอน (Model of teaching) ได้แก่ การสอนแบบอุปนัย (Inductive) และรูปแบบสำหรับการพัฒนาการสอน ได้แก่ การออกแบบระบบการสอน (Instructional system design) กระบวนการ (Process) ส่วนใหญ่จะเป็นลำดับขั้นตอนแต่

ไม่เสมอไป

2. แหล่งการเรียน (Resources) แหล่งการเรียนรู้เป็นแหล่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ ของผู้เรียน รวมถึงสนับสนุนระบบและวัสดุการสอน

ตลอดจนสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หรือวิชาเทคโนโลยีการสอน ได้พัฒนาและเจริญก้าวหน้ามาจากความสนใจเกี่ยวกับการ

ใช้สื่อการสอนและกระบวนการสื่อสาร แต่แหล่งการเรียนรู้จะไม่ใช่เพียงเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ แต่ยังรวมถึง

บุคคล งบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลได้


การเรียนรู้ (Learning)



วัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีการสอนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพล และส่งผลต่อการเรียนรู้ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้

ทำให้เกิดความกระจ่างชัดในการเรียนรู้ เป็นวัตถุประสงค์ของการสอน ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้นั่นเอง การเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีหลักฐาน เชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะและเจตคติ ที่เป็นเกณฑ์ในการสอนหรือ ในนิยามที่ว่า “การเรียนรู้” หมายถึงการเปลี่ยน

แปลงอย่างถาวรในด้านความรู้ของบุคคลหรือพฤติกรรม รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ

โดยสรุป เมื่อเปรียบความหมายของเทคโนโลยีการสอนหรือการศึกษา จะพบว่า มีหลายแนวคิดหลักที่ปรากฏขึ้นมา แม้ว่า

จะมีบริบทและความหมายที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิม คำที่มักจะพบบ่อยคือ ระบบ (Systematic) แหล่งการเรียน (Resource) และกระบวน

การ (Process) และคำที่แสดงถึงความหมาย “เทคโนโลยีการสอน” ในปี 1994 ได้แก่ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การการจัด

การและการประเมินผล ในทางตรงข้าม คำที่ใช้เดิมนี้ ได้แก่ “การควบคุม” สิ่งอำนวยความสะดวก ลำดับขั้น คน เครื่องจักร เครื่องมือ

ในแต่ละความหมาย ได้กำหนดวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา ซึ่งจะเห็น ได้ว่า ความหมายที่

ปรากฏมาใหม่ในปี 1994 มีความใกล้เคียงกับความหมายในปี 1963 และปี 1971 มากกว่าปี 1977 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาในปี

1973 อีลี (Ely) ได้อภิปรายว่า เป็นการประสานร่วมกันของ 3 ขอบข่ายหลัก ได้แก่ วิธีระบบ (A systematic approach) วิธีการ (Means)

และสาขาวิชาที่ตรงตามเป้าหมาย

แต่ความหมายในปี 1994 ได้อธิบายถึงคำว่า “วิธีการ” (Means) ซึ่งหมายถึงกระบวนการและแหล่งการเรียนรู้ (Process and

resources) เป็นขอบข่ายของการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมิน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความก้าวหน้าหรือทิศทาง แนวโน้มของเทคโนโลยีการสอนที่เคลื่อนไหวในสาขานี้ ได้มุ่งไปสู่ทฤษฏี

และการปฏิบัติอย่างแท้จริง


ที่มา : http://eduweb.kpru.ac.th/innovation/content1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น