อินเตอร์เน็ต (Internet)
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อTCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก
คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์(Hardware)
ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่าย
อินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน
โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC
(Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและ
การประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของ
เครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้าน
เครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย
ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคย
คาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาด
ที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET
จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้ แม้ภายหลังที่อเมริกา
ถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับ
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หาก
โครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมา
ใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้อง
มีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐาน
ทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม
กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET
เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนา
เครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET
ที่เป็นระบบเปิด ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม
(Physical Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อม
เครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนา
มาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด
ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ
ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถ
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน
ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าใรนัก ความง่ายใน
การขยายเครือข่ายและการใช้งานได้ทำให้อินเตอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา
จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ ในวงการศึกษาวิจัย และการทหาร
เป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบันจุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี
ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ
ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้
(User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า
Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละ
เครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML
(HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่
เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia
ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูก
ขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน
ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน
ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิด ได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser
สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง
Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทาง
กราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์
ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการ
ของ WEB
ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง
ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น
มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมท
สินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้
การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิง
พาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่าน เพื่อพัฒนาตลาด ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโต
ในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก
Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้
จากการบริการใหม่อื่นๆ
ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี economies of scale สำหรับการดำเนิน
กิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา
กำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money)
ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที
มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิด
การปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000 นี้
ในด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตรองรับการใช้งานในด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มาตั้งแต่ต้นแล้ว
เพียงแต่ขอบเขต ของการให้บริการตลอดจน จำนวนและรูปแบบของบริการเพิ่งจะมีอัตราเติบโตที่
สูงมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์อาศัยเพียง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูล
งานวิจัย ไปยังกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต่อมามีการใช้งานกลุ่มสนทนา (Discussion Forum)
ที่เรียกว่า USENET Newsgroups ซึ่งทำให้สามารถรวมผู้คน เข้ามาปรึกษาหารือได้คราวละมาก ๆ
โดยในแต่ละ FORUM จะมีเรื่องที่กำหนดหัวข้อไว้เช่น soc.culture.thai เป็นกลุ่มสนทนา
เกี่ยวกับเมืองไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเรื่องทั่วไป comp.security
เป็นกลุ่มสนทนาที่จะคุยกัน เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมี
กลุ่มสนทนาอยู่กว่า 8000 กลุ่มบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ไม่จำกัดอยู่ใน
วงการอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้น บุคคลทั่วไปที่สนใจก็สามารถเข้าไปสนทนาในเรื่องวิชาการใดใดก็ได้
ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการศึกษานอกโรงเรียน (Informal Education) เป็นอย่างมาก
ยิ่งภายหลังจากที่เทคโนโลยี WEB ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการอินเตอร์เน็ต ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่
ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก รูปแบบการใช้งาน (Applications) นั้นมีเหลือคณานับ เช่น การใช้เป็นสื่อ
การเรียนการสอนแบบทางไกล (Distant Education and Wide Area Learning) สามารถ
ส่งข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง อนิเมชัน ไปยังนักเรียนได้ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้ได้มี
มหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามหาวิทยาลัยจำแลง (Virtual University)
ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตัวมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ที่ทำการเล็ก ๆ
เท่านั้นแต่นักศึกษาจะมีความรู้สึกว่าใหญ่ เมื่อเข้าไปเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยจำแลง
ที่อาศัยบริการอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักศึกษาที่ห่างไกล มหาวิทยาลัยจริงหลาย ๆ
แห่งก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดฝึกอบรมและสัมนาทางไกล มีงานประชุมทางวิทยาศาสตร์หลายต่อ
หลายแห่งที่เปลี่ยนจากการประชุมจริง มาเป็นการจัดบนอินเตอร์เน็ต โดยยังอิงรูปแบบของงานประชุมจริง ๆ
ไว้การถ่ายทอดความรู้ และ การถ่ายเทความมั่งคั่งทางปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งรวดเร็วขึ้นอย่างมาก
เราเคยใช้หนังสือเป็นตัวถ่ายทอดวิทยาการความรู้ เราเคยใช้การไปมาหาสู่ในการช่วยถ่ายเทภูมิปัญญาจากที่
หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ขณะนี้เราก็ยังคงใช้มันอยู่ หากแต่นับวันมันจะมีสัดส่วนที่น้อยลง ทุกวันนี้เราถ่ายเทข่าวสาร
ความรู้ผ่านทางสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เราสามารถอ่านวารสารไบต์ และ
ไทมส์ บนอินเตอร์เน็ต เราสามารถติดต่อพูดคุยผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสนทนา โทรศัพท์
อินเตอร์เน็ต (Internet Phone) จนถึงการประชุมแบบเห็นภาพ (Video Conference)
ทุกวันนี้เมื่อมีความรู้เกิดขึ้น ณ ที่ใด มันสามารถที่จะถ่ายเทไปยังที่อื่น ๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้คนได้มี
โอกาสเสวยสุขกับทรัพยากรทางปัญญาได้รวดเร็ว และ ทั่วถึงกว่าเดิม กล่าวคือ มันได้เพิ่มอำนาจ
แก่มวลชน เพราะเมื่อมวลชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น คุณภาพทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการติดต่อ
แลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกันทั่วถึงขึ้น ย่อมกระจายอำนาจการตัดสินใจไปสู่กลุ่มคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น
การตัดสินใจใดใดของรัฐบาลจะถูกควบคุมโดยพลังสารสนเทศของมวลชน การทำธุรกิจจะเป็นไปในแนวทาง
ที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนทั้งนี้ภาคธุรกิจจะสามารถทราบความต้องการของมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
ในด้านมืด อินเตอร์เน็ตก็ได้สร้างผลกระทบต่อมวลชนเช่นกัน ความสามารถในการเป็นสื่อในการถ่ายเท
ทรัพยากรทางปัญญา จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งทำให้มันถูกใช้ในการก่ออาชญากรรม และการก่อการร้าย
ได้ง่ายขึ้น อาชญากรสามารถที่จะเจาะเข้าไป หาข้อมูลเพื่อแสวงหาประโยชน์จากความลับในทางการค้า
หรือเข้าไปขโมยเงินซึ่งอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย อาชญากรจะมีความรู้มากขึ้น เพราะสามารถหา
ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำระเบิดซึ่งเขียนวิธีทำไว้อย่างละเอียดบน
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับ WEB นักก่อการร้ายในปัจจุบันใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในการประสาน
งานการวางระเบิดทั่วโลก ข้อมูลต่าง ๆ สามารถถูกส่งไปยังหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ของผู้ก่อการร้าย
อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเดินทางของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ยังได้คุกคาม
ต่อวัฒนธรรมของชนในหลายพื้นที่ที่ข้อมูลภายนอกอาจเป็นสิ่งต้องห้าม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ
ภาพโป๊และเปลือยซึ่งถือเป็นเรื่องแสนจะธรรมดาสำหรับประเทศในเขตยุโรปเหนือแต่เป็นสิ่งต้องห้ามใน
ประเทศอาหรับ หรือแม้แต่ประเทศเราเอง
การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้สังคมโลกเริ่มปรับตัวและจัดระเบียบใหม่ การดำเนินชีวิตของพลเมืองโลก
เริ่มมีการปรับเปลี่ยน มีรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายมีการปฏิรูปทางการศึกษา พฤติกรรม
ในการบริโภคก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไป อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต ได้แผ่ขยายไปมากเกินกว่าอำนาจใดจะหยุดยั้งไว้ไ
ด้ นั่นไม่ใช่เพราะพลังของเทคโนโลยีแต่เป็นพลังของมวลชนต่างหาก
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยแล
ะพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific,
Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการ
เชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่
เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับ
เงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่า
สัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค
เครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง
Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะ
เริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมี
การใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทย
ที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย
ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมาย
เครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย
ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายาม
จะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยม
การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน
และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่
9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์
(Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน
หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น
เนื่องจากในปัจจุบันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 เป็นต้นไป การใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใน
ระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มจะอยู่ตัว และมีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายเส้น
ทางการสื่อสารให้กว้างขึ้นเป็น 64 Kbps เป็นอย่างน้อย ประกอบกับทางเนคเทค ได้รับเงินสนับสนุน
จากงบประมาณแผ่นดินลดลง จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่ายไทยสาร เพื่อหาแนวทาง
ความร่วมมือกันออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายใน
การเชื่อต่อสมทบให้เนคเทคปีละ 240,000 บาท สำหรับการเชื ่อมต่อที่ความเร็ว
ที่มา : http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=2366
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น