วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ADMIN

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

วันตกรรมแห่งชาติ
เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงาน และได้มีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ
"โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ดังนี้ "โครงการแกล้งดินนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา 3 ปีแล้ว หรือ 4 ปีกว่าแล้ว ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล ดังนั้น ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงานสำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจ เขามีปัญหาแล้วเขาก็ไม่ได้แก้ หาตำราไม่ได้...”
"... โครงการปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไปในแง่ของการศึกษาทดลองและการขยายผลการทดลองต้องดูอย่างนี้ ทิ้งดินเอาไว้ปีหนึ่งแล้วจะกลับเปลี่ยนหรือเปล่า เพราะว่าความเปรี้ยวมันเป็นชั้นดิน ดินที่เป็นซัลเฟอร์ (sulfer) แล้วก็ถ้าเราเปิดให้มีน้ำ อากาศลงไป ให้เป็นซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่งซัลเฟอร์ออกไซด์เอาน้ำเข้าไปอีกที ไปละลายซัลเฟอร์ออกไซด์ก็กลายเป็นใส่ออกไซด์ลงไป ก็เป็นกรดซัลฟุริก (sulfuric) แต่ถ้าสมมุติว่าเราใส่อยู่ตลอดเวลา ชั้นดินที่เป็นซัลเฟอร์นั้นถูกกันไว้ไม่ให้โดนออกซิเจนแล้วตอนนี้ไม่เพิ่ม....ไม่เพิ่ม acid โดยหลักการเป็นอย่างนั้น แต่หากว่าต่อไปในแปลงต่างๆ เพิ่มการทดลองอีก เมื่อได้แล้วทิ้งไว้มันจะกลับไปสู่สภาพเดิมหรือไม่ แล้วเมื่อความเป็นกรดเพิ่มขึ้นใหม่ จะพัฒนาให้กลับคืนมาสู่สภาพนี้ได้ ต้องใช้เวลา อาจจะใช้เวลาสักปี ดูสภาพว่าปีไหนไม่ได้ใช้ ดินมันจะเสื่อมลงไปเท่าไรแล้วจะกลับคืนมาเร็วเท่าไร...”
"....งานทดลองนี้เหมือนเป็นตำรา ควรทำเป็นตำราที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่นๆ ในพื้นที่อื่นอาจจะไม่ต้องมีการแบ่งเป็นแปลงย่อยเช่นนี้ คันดินที่สร้างเพื่อกั้นน้ำก็อาจจะใช้คลอง ชลประทานสร้างถนน สะพาน การศึกษาจึงต้องทำแบบนี้...”
ทั้งนี้ ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำราคือ "คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับที่จะใช้พัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่นๆ ต่อไป เนื่องในศุภวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 60 ปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 เห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเสนอการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย" และกำหนดให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันนวัตกรรมแห่งชาติ" เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาและรำลึกพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย พระวิริยะอุตสาหะ พระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศ พระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม จนบังเกิดประโยชน์สุขต่ออาณาประชาราษฎร์มาอย่างต่อเนื่องถึง 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ ด้วยการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การใช้กังกันน้ำชัยพัฒนาในการพัฒนาคุณภาพน้ำ และการปลูกหญ้าแฝก ป้องกันการกร่อนทะลายของดิน เพื่อสดุดีพระเกีรยติคุณให้สถิตสถาพรสืบไป
-ความเป็นมา
-มติคณะรัฐมนตรี (20 มิถุนายน 2549)
- โครงการนวัตกรรมเทิดพระเกียรติ "แกล้งดิน”
ประโยชน์ที่ได้รับ
ความเป็นมา สภาพพื้นที่ทางภาคใต้มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถัน อันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ ก็คือ การใช้กรรมวิธี "แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1-4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น และทำการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ "การแกล้งดิน” โดยวิธีการที่ได้พระราชทานไว้นั้น สามารถทำให้บริเวณพื้นที่ดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้ กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่งด้วยวิธีการอันเกิดจากพระปรีชาสามารถโดยแท้
> คณะะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีมติให้ดำเนินการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส และมีมติให้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสร็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินโครงการศูนย์พิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดินอย่างเป็นทางการ
> เหตุผลในการเลือกโครงการ "แกล้งดิน” เนื่องจากพระราชดำริครั้งนี้เป็นครั้งแรกในโลกในการนำเสนอแนวคิดและการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่ที่มีความเปรี้ยวจนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ เช่น ดินพรุในเขตภาคใต้ มาพัฒนาหาวิธีที่เหมาะสมในการปรับปรุงพื้นที่จนสามารถนำมาเพาะปลูกพืชได้อีกครั้ง ทั้งนี้แนวพระราชดำริดังกล่าวได้เน้นให้เห็นถึงการประสมประสานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขดินเปรี้ยวได้ > ทฤษฎี "แกล้งดิน” เริ่มจากวิธีการ แกล้งดินให้เปรี้ยวจัด ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไปเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีให้ดินเปรี้ยวจัดปีละหลายๆ ครั้งจนกระทั่งดินมีสภาพความเป็นกรดสูงที่สุด เพื่อจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการหาวิธีการปรับปรุงดินและปริมาณของสารเคมีหรือน้ำที่ต้องใช้ในการปรับปรุงดินในพื้นที่พรุให้สามารถปลูกพืชและทำการเกษตรได้ ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คุณสมบัติของดิน ลักษณะพื้นที่ ลักษณะการทำการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว เป็นต้น
> วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังต่อไปนี้ 
- วิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน 
- วิธีการปรับปรุงดิน เช่น ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด การใช้ปูนคลุกเคล้ากับหน้าดิน และการใช้ ปูนขาวควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นต้น 
- วิธีการปรับสภาพพื้นที่เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก
> สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จะการจัดงานเทิดพระเกียรติ "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” พร้อมกับมอบรางวัลพระราชทานประติมากรรมพระบรมรูปปั้นแก่ผู้ชนะเลิศ "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ” ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ในวันนวัตกรรมแห่งชาติ วันที่ 5 ตุลาคม 2549 มติคณะรัฐมนตรี (20 มิถุนายน 2549) คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกันดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ - เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส - ให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้แจงว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้มีพันธกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ โดยได้ดำเนินงานทั้งด้านการยกระดับนวัตกรรม การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรม การสร้างความใฝ่รู้ด้านนวัตกรรม ตลอดจนการสร้างองค์กรและระบบนวัตกรรม ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศ เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอเสนอโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริก็คือการใช้กรรมวิธี "แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยวด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1 – 4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การ "แกล้งดิน” ตามแนวพระราชดำริสามารถทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาเห็นว่า ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านนวัตกรรมและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทย ซึ่งจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับโครงการนี้ ดังนี้ วันที่ 24 สิงหาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นดินมีคุณภาพต่ำ สมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป 
วันที่ 16 กันยายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ " โครงการแกล้งดิน” โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการศึกษา ทดลอง เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ วันที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์พิกุลทองฯ และทรงมีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ "โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อน และพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ "คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับที่จะใช้พัฒนาที่ดินเปรี้ยวอื่นๆ ต่อไป 
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงแนวพระราชดำริในด้านการพัฒนา และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องตลอด 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว โครงการนวัตกรรมเทิดพระเกียรติ "แกล้งดิน” วันที่ 24 สิงหาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสกับ หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการที่ เกี่ยวข้องในจังหวัดนราธิวาส สรุปความว่า "ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ดินมีคุณภาพต่ำ ซึ่งพื้นที่ ทั้งหมดประมาณสามแสนไร่ เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่หมดแล้วยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้ เนื่องจากดินมีสารประกอบไพไรท์ ทำให้มีกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้น เห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้มีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกัน แบบผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป....” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชดำริ "โครงการแกล้งดิน” โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการศึกษา ทดลอง เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ ทรงพระราชทานพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ความว่า "...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี และพืชที่ทำการทดลองควรเป็นข้าว...”
ประโยชน์ที่ได้รับ ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ได้นี้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรที่บ้านโคกอิฐ-โคกใน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากพื้นที่ทำนาไม่ได้ผล กระทั่งสามารถปลูกข้าวได้ 40-50 ถัง/ไร่ นับเป็นการขยายผลการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับคือ
- ทำให้ดินเปรี้ยวที่ไม่สามารถปลูกพืชใดๆ ได้ พัฒนาจนสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ 
- ทำให้เกษตรกรที่มีที่นาในพื้นที่พรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวจัด สามารถใช้ปลูกข้าว ปลูกพืชล้มลุก พืชผัก พืชไร่ รวมถึงการปลูกไม้ผลได้ ซึ่งเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 

ที่มา www.nia.or.th

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ADMIN

                  สวัสัดีครับทุกท่านที่เข้าชม







ขอให้พระองค์ ทรงพระเจริญ

……………………………………………….
จะยากจน ข้นแค้น แสนสาหัส

จะพรากพลัด อยู่แห่งหน ตำบลไหน

จะไปอยู่ อาณาเขต ประเทศใด

จะกันดาร สักเพียงไหน ในแผ่นดิน

พระองค์ท่าน เสด็จไป ในทุกถิ่น

พลิกฟื้นดิน สร้างแหล่งน้ำ เพิ่มทรัพย์สิน

ทำฝนหลวง เติมน้ำ ที่ทำกิน

ให้ทุกถิ่น ประชาสุข ปราศทุกข์ภัย

พระองค์จึง เป็นมิ่งขวัญ อันสูงสุด

เปรียบประดุจ ร่มเงาให้ ได้อาศัย

ของมวลหมู่ เผ่าผอง พี่น้องไทย

ทั้งใกล้ไกล ต่างสำนึก ระลึกคุณ

จึงเรียงร้อย ถ้อยคำ ด้วยสำนึก

น้อมระลึก พระกรณีย์ ที่เกื้อหนุน

กราบวิงวอน เทพเทวัญ ประทานคุณ

โปรดอวยหนุน ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า